วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

แรงต้าน 
หมายถึงแรงที่มีทิศต้านทิศทางการเคลื่อนที่ แรงต้านอาจทำให้วัตถุไม่เกิดการเคลื่อนที่หรือทำให้วัตถุที่เคลื่อนที่อยู่ มีการเคลื่อนที่ช้าลง
แรงขนาน
หมายถึงแรงที่มีทิศทางขนานกัน อาจมีทิศทางเดียวกันหรือตรงกันข้ามกันก็ได้
แรงที่เกิดขึ้นจากการที่ทำให้เชือกตึง โดยดึงปลายเชือกทั้ง 2 ด้าน แรงตึงในตัวเชือกที่เกิดขึ้นจะต้องไม่เกินแรงสูงสุดที่เชือกจะรับได้ ค่าของแรงตึงเชือกจะแปรไปตามค่าของแรงที่มากระทำต่อเชือก



 แรงหมุน
 หมายถึง แรงที่กระทำต่อวัตถุ ทำให้วัตถุเคลื่อนที่โดยหมุนรอบจุดหมุน ผลของการหมุนของ เรียกว่า โมเมนต์ เช่น การปิด-เปิด ประตูหน้าต่าง

แรงคู่ควบ 
คือ แรงขนานต่างพวกกันคู่หนึ่งที่มีขนาดเท่ากัน แรงลัพธ์มีค่าเป็นศูนย์ และวัตถุที่ถูกแรงคู่ควบกระทำ คู่กระทำ จะไม่อยู่นิ่งแต่จะเกิดแรงหมุน

แรงสู่ศูนย์กลาง 
หมายถึง แรงที่มีทิศเข้าสู่ศูนย์กลางของวงกลมหรือทรงกลมอันหนึ่งๆ เสมอ

แรงโน้มถ่วงของโลก 
คือ แรงดึงดูดที่มวลของโลกกระทำกับมวลของวัตถุ เพื่อดึงดูดวัตถุนั้นเข้าสู่ศูนย์กลางของโลก
               - น้ำหนักของวัตถุ เกิดจากความเร่งเนื่องจากความโน้มถ่วงของโลกมากกระทำต่อวัตถุ



 แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา 
 แรงกิริยา 
คือ แรงที่กระทำต่อวัตถุที่จุดจุดหนึ่ง อาจเป็นแรงเพียงแรงเดียวหรือแรงลัพธ์                      ของแรงย่อยก็ได้
 แรงปฏิกิริยา 
คือ แรงที่กระทำตอบโต้ต่อแรงกิริยาที่จุดเดียวกัน โดยมีขนาดเท่ากับแรงกิริยา แต่ทิศทางของแรงทั้งสองจะตรงข้ามกัน


แรงเสียดทาน 

คือ แรงที่ต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุซึ่งเกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ เกิดขึ้นทั้งวัตถุที่เคลื่อนที่และไม่เคลื่อนที่ และจะมีทิศทางตรงกันข้ามกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ
         แรงเสียดทานมี ประเภท คือ
         1. แรงเสียดทานสถิต คือ แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุในสภาวะที่วัตถุได้รับแรงกระทำแล้วอยู่นิ่ง 
         2. แรงเสียดทานจลน์ คือ แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุในสภาวะที่วัตถุได้รับแรงกระทำแล้วเกิดการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่

         
การลดและเพิ่มแรงเสียดทาน
         การลดแรงเสียดทาน สามารถทำได้หลายวิธี
        1. การขัดถูผิววัตถุให้เรียบและลื่น
        2. การใช้สารล่อลื่น เช่น น้ำมัน
        3. การใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น ล้อ ตลับลูกปืน และบุช
        4. ลดแรงกดระหว่างผิวสัมผัส เช่น ลดจำนวนสิ่งที่บรรทุกให้น้อยลง
        5. ออกแบบรูปร่างยานพาหนะให้อากาศไหลผ่านได้ดี
         การเพิ่มแรงเสียดทาน สามารถทำได้หลายวิธี

         1. การทำลวดลาย เพื่อให้ผิวขรุขระ
        2. การเพิ่มผิวสัมผัส เช่น การออกแบบหน้ายางรถยนต์ให้มีหน้ากว้างพอเหมาะ


อ้าอิง
https://sites.google.com/site/sciencethai/raeng-laea-kar-kheluxnthi

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น